วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

20 อันดับไวรัสที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์

20 อันดับไวรัสที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์

1.CREEPER (1971) โปรแกรมหนอนอินเตอร์เน็ตตัวแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ TOPS TEN

2.ELK CLONER (1985) ไวรัสคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตัวแรกที่เกิดกับ Apple IIe เป็นผลงานของเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (เกรด 9)

3.THE INTERNET WORM (1985) เขียนโดยบุคลากรในมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ซึ่งมีผลต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ต

4.PAKISTANI BRAIN (1988) ไวรัสตัวแรกที่ติดกับคอมพิวเตอร์พีซีไอบีเอ็ม เขียนโดยสองพี่น้องจากปากีสถาน ถือเป็นไวรัสตัวแรกที่สื่อให้ความสนใจอย่างแพร่หลาย

5.JERUSALEM FAMILY (1990) มีสายพันธุ์ที่แตกต่างกันประมาณ 50 สายพันธุ์ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากมหาวิทยาลัยเยรูซาเล็ม

6.STONED (1989) ไวรัสที่แพร่ระบาดหนักที่สุดช่วงสิบปีแรก ติดเชื้อในส่วนบูตระบบ /.mbr ส่งผลให้รีบูตระบบหลายครั้งและยังแสดงข้อความว่า "your computer is now stoned"

7.DARK AVENGER MUTATION ENGINE (1990) เขียนเมื่อปี 1988 แต่นำไปใช้ครั้งแรกต้นปี 1990 เช่นเดียวกับไวรัส POGUE และ COFFEESHOP กลไกการกลายพันธุ์ได้หลากหลายรูปแบบของไวรัสตัวนี้ ทำให้ไวรัสสามารถทำงานได้ตลอดเวลา

8.MICHEANGELO (1992) สายพันธุ์หนึ่งของ STONED ความสามารถทำลายล้างสูง โดยวันที่ 6 มีนาคม ไวรัสตัวนี้จะลบ 100 เซ็คเตอร์แรกของฮาร์ดไดรฟ์ให้ใช้งานไม่ได้

9.WORLD CONCEPT (1995) ไวรัส Microsoft Word Macro ตัวแรกที่แพร่กระจายสู่โลกภายนอก โดยมีการแอบใส่ข้อความไว้ว่า "That"s enough to prove my point" ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ในยุคที่สองของไวรัสคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากแฮกเกอร์ซึ่งมีทักษะน้อยมาก

10.CIH/CHERNOBYL (1998) ไวรัส Chernobyl เป็นไวรัสทำลายล้างมากที่สุดเท่าที่เคยพบ เริ่มปฏิบัติการทำลายล้างโดยอาศัยเงื่อนไข คือ เมื่อปฏิทินในเครื่องคอมพิวเตอร์ตรงกับวันที่ 26 ในทุกๆ เดือน สามารถทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ และทำลายข้อมูลการบูตที่เก็บอยู่ในไบออส โดยแฟลชไบออสด้วยข้อมูลขยะส่งผลให้ข้อมูลต่างๆ ที่เคยแสดงตอนบูตเครื่องกลายเป็นหน้าว่างๆ และไม่สามารถเรียกขึ้นมาใช้งานได้อีกต่อไป

11.MELISSA (1999) ไวรัสสำคัญตัวแรกที่แพร่ระบาดผ่านอี-เมล และเป็นการเริ่มต้นของยุคไวรัสอินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง แม้ Melissa ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำลาย แต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ใช้เนื่องจากจะทำให้กล่องรับอี-เมลเต็มในทุกที่ที่เกิดการติดเชื้อ

12.LOVEBUG (2001) หนอนอี-เมลที่ได้รับความนิยมสูงสุด เป็นรูปแบบของการใช้ชุมชนเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นประโยชน์
13.Code RED (2001) ตั้งชื่อตามเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงที่ได้รับความนิยม ไวรัสเครือข่ายตัวนี้จะอาศัยอยู่ในคอมพิวเตอร์ที่มีช่องโหว่ความปลอดภัย และทำการแพร่ระบาดด้วยตัวเอง

14.NIMDA (2001) เรียกกันว่า "Swiss Army Knife" หรือมีดอเนกประสงค์ของไวรัส ซึ่งจะใช้หลายวิธีในการเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำล้นอี-เมล การใช้เครือข่ายร่วมกัน และวิธีการอื่นๆ อีกเป็นสิบวิธี

15.BAGEL/NETSKY (2004) เป็นไวรัสที่ออกแบบมาโดยมีความสามารถเทียบเคียงกัน และต่อสู้กันเอง แต่ละตัวสร้างสายพันธุ์ออกมาอีกนับร้อยสายพันธุ์ และใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งประสบความสำเร็จในการแพร่ระบาดอย่างมาก หนอนทั้งสองตัวนี้ติดอยู่ในกระแสข่าวตลอดทั้งปี

16.BOTNETS (2004) นักรบซอมบี้ในโลกอินเตอร์เน็ตเหล่านี้ช่วยงานอาชญากรไซเบอร์ด้วยการสะสมกำลังพลคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้ออย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยอาชญากรไซเบอร์จะสามารถกำหนดค่าใหม่ให้กับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ เพื่อให้ส่งต่อสแปม เพิ่มเหยื่อติดเชื้อ และขโมยข้อมูล

17.ZOTOB (2005) หนอนตัวนี้มีผลเฉพาะกับระบบ Windows 2000 ที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมซ่อมแซม แต่ความสามารถที่โดดเด่น เข้าควบคุมไซต์ของสื่อรายใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งซีเอ็นเอ็น และนิวยอร์ก ไทม์ส ด้วย

18.ROOTKITS (2005) หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลกของโค้ดที่เป็นอันตราย ซึ่งถูกใช้เพื่อทำให้มัลแวร์อื่นสามารถซ่อนตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้ โดยมัลแวร์ที่ซ่อนตัวอยู่จะทำงานที่เป็นอันตรายอย่างลับๆ

19.STORM WORM (2007) ไวรัสลวงที่ที่เกิดขึ้นซ้ำนับพันๆ ครั้ง และในท้ายที่สุดก็จะสร้างบ็อตเน็ตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยเชื่อว่ามีคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อในเวลาเดียวกันมากกว่า 15 ล้านเครื่อง และอยู่ภายใต้การควบคุมของอาชญกรใต้ดิน

20.ITALIAN JOB (2007) ไม่ใช่มัลแวร์ที่ใช้เครื่องมือเดี่ยวๆ แต่เป็นการโจมตีร่วมกันโดยใช้ชุดเครื่องมือที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้าหรือรู้จักว่า MPACK เพื่อสร้างมัลแวร์รุ่นใหม่เพื่อการขโมยข้อมูลขึ้นมา และมีเว็บไซต์กว่าหมื่นแห่งตกเป็นเหยื่อ

วิธีป้องกันภัยคุกคามข้อมูล
๏ เปิดใช้งานและปรับปรุงซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยให้ทันสมัยเสมอ โดยเฉพาะถ้าใช้งานแล็ปท็อปที่ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ไม่มีการป้องกันใดๆ ในบริเวณสนามบิน ร้านกาแฟ และสถานที่ต่างๆ
๏ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ป้องกันภัยบนเว็บครอบคลุมการป้องกันอี-เมล และแอพพลิเคชั่นการประมวลผลที่ใช้ทั้งหมด และสามารถแจ้งเตือนเกี่ยวกับปริมาณการส่งผ่านข้อมูลทั้งเข้าและออกจากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานในเวลาจริง
๏ ปรับใช้เทคโนโลยีล่าสุด เช่น การป้องกันโดยเทคโนโลยีการตรวจสอบชื่อเสียง และประวัติเว็บไซต์ (Web Reputation) ซึ่งสามารถวัดระดับความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนที่คุณจะเข้าเยี่ยมชมได้ ควรใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบประวัติเว็บร่วมกับเทคโนโลยีการกรองยูอาร์แอล และการสแกนเนื้อหา
๏ ถ้าผู้ใช้งานใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ให้เปิดใช้งาน Automatic Update และติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงใหม่ๆ ทันทีที่พร้อมใช้งาน

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หน้าที่ OSI Model แต่ละ Layer

Physical Layer
ชั้น Physical เป็นการอธิบายคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสุที่ใช้เป็นสื่อกลาง ตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในชั้นนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสาย, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector), ระดับความตางศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshield Twisted Pair (UTP)

Datalink Layer
ชั้น Datalink เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (SubLayer) คือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) การแบ่งแยกเช่นนี้จะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับแอดเดรสทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐานอีเทอร์เน็ตและโทเคนริง แอดเดรสทางกายภาพนี้จะถูกฝังมาในการ์ดเครือข่ายโดยบริษัทผู้ผลิตการ์ดนั้น แอดเดรสทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับแอดเดรสทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูกใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link นี้

Network Layer
ในขณะที่ชั้น Data-Link ให้ความสนใจกับแอดเดรสทางกายภาพ แต่การทำงานในชั้น Network จะให้ความสนใจกับแอดเดรสทางตรรกะ การทำงานในชั้นนี้จะเป็นการเชื่อมต่อและการเลือกเส้นทางนำพาข้อมูลระหวางเครื่องสองเครื่องในเครือข่ายชั้น Network ยังให้บริการเชื่อมต่อในแบบ "Connection Oriented" อย่างเช่น X.25 หรือบริการแบบ "Connectionless" เช่น Internet Protocol ซึ่งใช้งานโดยชั้น Transport ตัวอย่างของบริการหลักที่ชั้น Network มีให้คือ การเลือกส้นทางนำพาข้อมูลไปยังปลายทางที่เรียกว่า Routing
ตัวอย่างของโปรโตคอลในชั้นนี้ประกอบด้วย Internet Protocol (IP) และ Internet Control Message Protocol (ICMP)

Transport Layer
ในชั้นนี้มีบางโปรโตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริการด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้น Transport นี้
"Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการใช้งานกันมากที่สุด"

Session Layer
ชั้น Session ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ, การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "เซสชัน" (Session) นั้นหมายถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไป อย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็กเก็ต (Packet) ของข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่างสมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการรับ/ส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลง ตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการกดหมายเลขปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียงดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมื่อมีการทักทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Session นี้มีระบบการติดตามด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซึ่งเรียกว่า "Dialog Management"
Simple Mail Transport Protocol (SMTP), File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้น Session, Presentation และ Application

Presentation Layer
ชั้น Presentation ให้บริการทำการตกลงกันระหว่างสองโปรโตคอลถึงไวยากรณ์ (Syntax) ที่จะใช้ในการรับ/ส่งข้อมูล เนื่องจากว่าไม่มีการรับรองถึงไวยากรณ์ที่จะใช้ร่วมกัน การทำงานในชั้นนี้จึงมีบริการในการแปลข้อมูลตามที่ได้รับการร้องขอด้วย

Application Layer
ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง ISO/OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การทำ E-mail Exchange (การรับ/ส่งอีเมล์), การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นๆ