วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหว สึนามิ อุบัติภัยธรรมชาติที่หนักขึ้นทุกวัน


ภัยพิบัติแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นในทะเลด้านตะวันออกของเมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น ซ้ำด้วยคลื่นสึนามิสูงเกิน 10 เมตร โถมเข้าฝั่งด้วยความเร็วแปดร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2554นั้น ได้สร้างความเสียหายต่ออาคาร บ้านเรือน ถนน โครงสร้างพื้นฐาน รถไฟ เครื่องบิน ยานพาหนะ และอุปกรณ์ทุกชนิดที่ขวางหน้า คร่าชีวิตมนุษย์จำนวนกว่า 20,000 คน แผ่กระจายเป็นอาณาบริเวณกว้างขวางปราศจากขอบเขต และสร้างความหวาดผวาแก่มนุษยชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งเป็นต้นตำรับของตำนานสึนามิ และซ้ำร้ายเมื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิม่า ไดอิชิ ของบริษัทการไฟฟ้าโตเกียว ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ เป็นความเสียหายอย่างหนักนั้น ถือเป็นอุบัติภัยที่ควรจะมีอยู่แต่ในตำราที่เป็นจินตนาการเท่านั้น แต่ที่เกิดขึ้นจริงครั้งนี้สร้างผลกระทบความเสียหายเลวร้ายกว่าที่เคยถูก บันทึกว่าเป็นความเลวร้ายที่สุดสำหรับอุบัติภัยในประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทรีไมล์ไอส์แลนด์ในสหรัฐฯ หรือ เชอร์โนบิลในรัฐยูเครนสหภาพโซเวียต




เมื่อเกิดแผ่นดินไหวโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิม่าแห่งนี้จะหยุดทำงาน ทันทีโดยอัตโนมัต แต่แรงปะทะและน้ำท่วมของสึนามิทำให้อุปกรณ์ในห้องควบคุมชั้นล่าง ระบบการสื่อสารทั้งหมดซึ่งเป็นหัวใจของการควบคุมอัตโนมัติและระบบไฟฟ้าสำรอง เสียหายหยุดทำงานพังพินาศ ทำให้การหล่อน้ำเพิ่มความเย็นเพื่อลดอุณหภูมิแก่เชื้อเพลิงซึ่งเป็นแท่งยูเร เนี่ยม ครอบด้วยโลหะเซอร์โคเนี่ยมจุ่มอยู่ในน้ำรวมกับแท่งควบคุมของเตาปฏิกรณ์ วิศวกรผู้ควบคุมได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อควบคุมอุณหภูมิเตาปฏิกรณ์ ป้องกันไม่ให้แท่งเชื้อเพลิงร้อนจัดจนถึงขั้นหลอมละลายหรือระเบิดกระจาย กัมมันตรังสีออกสู่บรรยากาศ ลังเลกันอยู่นานก่อนตัดสินใจใช้น้ำทะเลมาช่วยหล่อเย็นแต่มาได้ผลมากนัก เพื่อลดความดันของก๊าซไฮโดรเจนที่กระจุกรวมตัวกันอยู่ในอาคารด้านนอกของเตา ปฏิกรณ์ เปิดให้ออกสู่บรรยากาศมีผลเสียตามมา เกิดการระเบิดเมื่อผสมเข้ากับออกซิเจน การระเบิดของไฮโดรเจนส่งผลให้หลังคาฝาครอบด้านนอกของเตาปฏิกรณ์เครื่องหนึ่ง เปิดออก เกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสีออกสู่บรรยากาศโดยรอบน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง แต่กระนั้นหน่วยดับเพลิงและป้องกันสาธารณภัยของญี่ปุ่นก็ยังไม่ย่อท้อ ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อฉีดน้ำดับเพลิงหล่อเลี้ยงลดอุณหภูมิให้แก่เตาปฏิกรณ์โดย เฉพาะหน่วยที่3 ซึ่งมีปัญหาวิกฤติที่สุดของจำนวนทั้งหมด6หน่วย กรณีนี้ถือเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าของวิศวกรโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และบริษัทการ ไฟฟ้าโตเกียว



โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิม่าแห่งนี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาความรู้ สูงสุดความสามารถของวิศวกรชาวญี่ปุ่นที่ถือว่าจะให้ความปลอดภัยสูง มีความเสี่ยงน้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถทนต่อความแรงของแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์สเกลได้ แต่เมื่อถูกกระแทกด้วยแรงกระแทกซ้ำแล้วซ้ำอีกของพลังน้ำมหึมาที่ความเร็ว 800 กม.ต่อชั่วโมงนั้น เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของวิศวกรผู้ออกแบบ เป็นผลให้ระบบไฟฟ้า การควบคุมอัตโนมัติและอุปกรณ์สำรองของความปลอดภัยทุกชนิดพังพินาศเป็นอัมพาต หมด ถึงกระนั้นวิศวกรและช่างชาวญี่ปุ่นก็ได้พยายามหามาตรการต่างๆทำงานแข่งกับ เวลาเพื่อที่จะควบคุมการทำงานของเตาปฏิกรณ์ทุกเครื่องให้อยู่ในภาวะที่ ปลอดภัยให้ได้แม้จะเสี่ยงกับความปลอดภัยของตนเองก็ตาม